Last updated: 27 ก.ย. 2566 | 9681 จำนวนผู้เข้าชม |
เมนู Beef Jerky คือ เมนูเนื้อตากแห้งซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่เกิดขึ้นจากการต้องการที่จะเก็บอาหารให้ได้นานขึ้น ในวันนี้ Beef Brother จะมีบอกเล่า ตั้งแต่จุดเริ่มต้น – วีธีการทำของ Beef Jerky กันน
บีฟ เจอร์กี้ หรือ เนื้ออบแห้ง
พื้นฐานหรือ แนวคิดที่ได้มีการคิดค้นเมนูนี้ขึ้นมา เนื่องจากในสมัยโบราณไม่ได้มีอุปกรณ์ หรือวิธีการถนอมอาหารมากนัก โดยมีไม่กี่วิธีและการอบแห้งก็เป็นวิธีแรกๆที่คนโบราณได้คิดค้นขึ้นมา และถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในยุคนั้นๆ
“แล้วทำไมการอบหรือตากแห้งทำให้อาหารอยู่ได้นานล่ะ?” การที่อบหรือตากเนื้อนั้น ได้ทำการเอาความชื้นออกจากตัวเนื้อ ทำให้เนื้อมีความแห้งและแข็งตัวขึ้น พอเอาน้ำในเนื้ออกหมดแล้วนั้น ทำให้ลดอัตตาการเน่าเสียได้เยอะทำให้เนื้อนั้นอยู่ได้นานขึ้นหลายเท่าตัวเลย ถือว่าเป็นแหล่งพลังงานชั้นดี และยังพกพาได้สะดวก ในยุคโบราณจึง เป็นเสบียงสำหรับการเดินทางนานๆอีกด้วย
จุดเริ่มต้นของ Beef Jerky
ชาวพื้นเมืองอเมริกันอินเดียนได้ถนอมเนื้อควายไบสันโดยการหมักและรมควันในระหว่างเดินทางโดยเนื้อแห้งเหล่านี้เรียกว่า “charqui” อ่านว่า ชาร์กี้ ในภาษาสเปน ซึ่งหมายความว่า “การดึงหรือตัดให้เป็นเส้นยาว”
เหล่าผู้บุกเบิกแห่งอเมริกาเหนือนั้นได้รู้จักเจอร์กี้จากชาวอเมริกันพื้นเมือง โดยเหล่าผู้บุกเบิกเหล่านี้จะบริโภคเจอร์กี้ในยามที่ต้องอยู่ห่างไกลความเจริญเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นชาวเขา นักล่า หรือนักสำรวจ พวกเขาเหล่านี้มักจะทำการแลกเปลี่ยนสิ้นค้ากับชาวพื้นเมืองเพื่อได้เจอร์กี้ ด้วยความที่เจอร์กี้นั้นมีประโยชน์มากมาย มีคุณค่าทางอาหารสูง และเก็บได้นาน จากอดีตถึงปัจจุบัน จึงเป็นเมนูที่ทั่วโลกนิยมและรู้จัก
มารู้จัดวิธีการทำ บีฟ เจอร์กี้ หรือ เนื้ออบแห้ง กัน!
1. ในการเลือกชิ้นเนื้อ ให้เลือกชิ้นเนื้อที่ไร้มัน อย่างเนื้อเซอร์ลอยน์ เนื้อสเต็กใบบัว เนื้อสะโพกใน หรือเนื้ออายราวนด์ จะช่วยประหยัดเวลาได้และจะสามารถทำให้เนื้อได้แห้งโดยง่าย
2. กำจัดไขมันที่เห็นออกให้หมด ไขมันเป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้อแดดเดียวเสียได้อย่างรวดเร็ว ให้หั่นเนื้อให้เป็นชิ้นยาวบาง โดยบางกว่า 1/20 นิ้ว (คนขายเนื้อบางที่ก็แล่ให้ แลกกับค่าแล่นิดหน่อยถ้าคุณขอ) ในการที่จะแล่เนื้อง่ายๆ ให้นำเนื้อไปแช่ช่องแช่แข็งสัก 5 ชั่วโมงก่อนจะนำมาหั่น จะหั่นตามแนวกล้ามเนื้อของเนื้อ หรือหั่นด้านตรงข้ามก็ได้ บางคนก็บอกว่าถ้าหั่นด้านตรงข้ามนั้นจะง่ายในการเคี้ยวมากกว่า เล็มไขมันออก เนื่องจากว่าไขมันจะไม่มีทางแห้ง
3. หมักเนื้อหรือปรุงรส ใช้ส่วนผสมของน้ำมันมะกอกและน้ำส้มสายชู เกลือทะเล หรือสูตรที่คุณชอบ ถ้าคุณจะหมักเนื้อ ให้นำเนื้อไปแช่หมักในตู้เย็นเป็นเวลา 10-24 ชั่วโมง เพื่อที่เนื้อจะได้ดูดซับรสชาติได้ ขั้นตอนนี้ไม่ได้เป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องทำ ความชุ่มฉ่ำที่เพิ่มมาอาจทำให้การตากใช้เวลานานขึ้น และอาจทำให้เนื้อแดดเดียวเหนียวขึ้นด้วย หากใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปจะดีมาก
การหมัก
- หนึ่งในสูตรหมักเนื้อที่ดีคือควันเหลว ซอสถั่วเหลือง ซอสวูสเตอร์ ทาบาสโก้ และน้ำตาลทรายแดง
- อีกหนึ่งสูตรหมักเนื้อที่ดีประกอบด้วย เบียร์ dark Belgian ale (เบียร์ดำ) น้ำผึ้ง ซอสถั่วเหลือง เมล็ดมัสตาร์ด กระเทียม และมะนาว
- เติมรสชาติที่ไม่ได้หาได้ทั่วไปในเนื้อแดดเดียว ด้วยการเติมน้ำสับปะรด (เนื้อแดดเดียวสูตรฮาวาย) ขิง (เนื้อแดดเดียวสูตรเอเชีย) หรือผงแกงกะหรี่ (เนื้อแดดเดียวสูตรอินเดีย) อย่ากลัวที่จะทดลองไปเลย!
การปรุงรส
- โรยเกลือ พริกไทย ซินนาม่อน และพริกชิโปเลจำนวนเล็กน้อยลงบนเนื้อหมัก
- หรือจะโรยเนื้อแดดเดียวหมักด้วยผักชี ยี่หร่า กานพลู และ จันทน์เทศ
- น้ำผึ้ง พริกป่นแดง และพริกไทยดำก็ใช้เพื่อความนุ่มและดึงความหวานของเนื้อแดดเดียวขึ้นมาได้
การอบเนื้อ กำจัดน้ำออกจากเนื้อ
คราวนี้มาถึงขั้นตอนการอบกันได้แล้ว คือการกำจัดความชื้นทั้งหมดออกจากเนื้อ การใช้เครื่องดูดความชื้น เป็นวิธีพื้นฐานในการทำเนื้อแดดเดียว แม้ว่าคุณจะสามารถใช้เตาอบได้ก็ตาม ให้เนื้อแต่ละชิ้นมีที่ว่างระหว่างกัน เพื่อยอมให้ลมสามารถผ่านเข้าไปพัดเนื้อได้ อย่าให้เนื้อขาดออกจากกันถ้าทำได้ เนื้อแดดเดียวจะใช้เวลาอบประมาณแปดถึงสิบสองชั่วโมง กว่าจะกลายเป็นเนื้อแดดเดียวจริงๆ และแห้งอย่างน่ามหัศจรรย์ ตรวจสอบเนื้อแดดเดียวอย่างต่อเนื่องหลังจากผ่านไป 2 ชั่วโมง และทุกๆ 30 นาทีหลังจากนั้น จนกว่าจะได้เนื้ออย่างที่คุณต้องการ แล้วนำมาตัดดูว่าด้านในยังดิบอยู่หรือไม่ เนื้อแดดเดียวควรเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีม่วงแดง
การเก็บรักษา
แนะนำให้เก็บในโหล หรือ ที่แห้งๆ หรือ สามาถแช่ช่องแข็ง ได้เลย! ตัวเนื้ออบแห้งแล้วควรจะใส่ในถุงที่ดูดอากาศออกให้หมดแล้ว ก็จะเก็บรักษาในวิธีต่างๆ