เคล็ดลับที่เชฟ! อยากบอกต่อ เทคนิคการวัด 6 ระดับความสุกของเนื้อสเต็ก

Last updated: 21 พ.ค. 2564  |  70656 จำนวนผู้เข้าชม  | 

6 อุณหภูมิสเต็ก แบ่งตามระดับความสุก

สเต็กเนื้อ หนึ่งในเมนูยอดฮิตของคนทั่วโลก แต่หลายๆ คนอาจจะรู้และไม่รู้ว่าที่จริงแล้ว เนื้อสเต็กที่เราสั่งมากินตามร้านอาหารหลายๆ ร้านนั้น ส่วนใหญ่จะสามารถเลือกความสุกของเนื้อได้ถึง 6 ระดับเลยทีเดียว



วันนี้เราจะมาแชร์เทคนิคระดับเชฟที่จะมาวัดความสุกแต่ละระดับของเนื้อสเต็ก เพื่อทั้งเวลาไปสั่งที่ร้านเอง รวมถึงพ่อครัว แม่ครัวคนไหนอยากนำไปปรับทำที่ร้านอาหารของตัวเองหรือทำทานเองที่บ้าน เราก็จะได้ทำเนื้อแต่ละแบบให้สุกตามที่เราต้องการด้วย ตามมาดูไปพร้อมกันเลย!!

เทคนิคการวัดความสุกของเนื้อสเต็กจะวัดได้ 2 แบบ


แบบที่ 1:  วิธีวัดความสุกด้วยมือเปล่า



เป็นวิธีที่เราไม่ต้องมีเครื่องมือใช้อะไรให้ยุ่งยากเลย เพียงใช้แค่นิ้วมือของคุณกดลงไปในสเต็กที่ปรุงสุก เป็นรูปแบบการวัดโดยใช้วิธีการสัมผัสด้วยนิ้ว เริ่มต้นใช้นิ้วจิ้มเนื้อ แล้วมาเปรียบเทียบกับมือ ในส่วนใต้นิ้วโป้ง (ทำมือดังรูป)

2. เมื่อเอานิ้วโป้งแตะกับนิ้วชี้ เนื้อเมื่อแข็งเท่านี้คือสุก ระดับแรร์ (Rare)

3. เมื่อเอานิ้วโป้งแตะกับนิ้วกลาง เนื้อเมื่อนุ่มได้เท่ากับมือคือสุก ระดับมีเดียม แรร์ (Medium Rare)

4. เมื่อเอานิ้วโป้งแตะกับนิ้วนางคือ มีเดียม (Medium)

5. เมือเอาโป้งแตะกับนิ้วก้อยคือ เวล ดัน (Well Done)

เทคนิคนี้จะวัดความสุกเนื้อได้ระดับนึง อาจจะไม่ได้เป๊ะมาก ถ้าใครสนใจลองใช้ดูกันดูนะ 

*ปล. อย่าลืมงอนิ้วเข้าหากัน และอย่าเกร็งนิ้ว

แบบที่ 2: วิธีวัดความสุกด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิเนื้อสเต็ก

วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ชัวร์และแม่นยำสุดๆ เพียงแค่ใช้อุปกรณ์เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ สำหรับมือใหม่และคนที่กำลังเปิดร้านแนะนำว่าหาตัววัดอุณหภูมิซื้อติดไว้สักอัน เพื่อจะได้ทำระดับความสุกของเนื้อและตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้อย่างแม่นยำและตรงตามความต้องการ

ลูกค้าแต่ละคนจะมีความชอบระดับความสุกของเนื้อที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งวันนี้ เรามี Tips ในการวัดอุณหภูมิเพื่อเช็คระดับความสุกในแบบต่างๆ ของสเต็กมาฝากกัน รวมไปถึงระยะเวลาเซียเนื้อว่าใช้ประมาณกี่นาที ไปดูกันเลย

1. Blue Rare



เป็นระดับความสุกของที่คนไทยส่วนใหญ่จะไม่ชินมากนัก ซึ่งจะเป็นแบบที่อาจจะทานยากสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยซักหน่อย โดยเนื้อสเต็กจะมีสีน้ำตาลแค่ผิวด้านนอก แต่เมื่อหั่นออกมาแล้วส่วนด้านในจะคงมีสีแดงสด เหมือนกับเนื้อดิบที่ผ่านความร้อนเพียงแค่ผิวเท่านั้น

วิธีทำ : นำเนื้ออุณหภูมิห้อง ไปนาบหรือเซีย บนกระทะที่ตั้งไฟร้อนจัดเพียงข้างละ 2-3 นาที
อุณหภูมิ : ภายในชิ้นเนื้อควรวัดได้ประมาณ 46 °C

2. Rare


ระดับความแรร์ก็จะยังไม่ค่อยนิยมในการทานสำหรับคนไทยอีกเช่นกัน เพราะเนื้อด้านในจะมีสีแดงสดอยู่ถึง 75 % (เนื้อจะยังแอบค่อนข้างดิบอยู่นิดนึง) และไล่ระดับความสุกมาถึงขอบเนื้อ ตัวเนื้อจะมีความชุ่มฉ่ำสูงและมีความเหนียวเล็กน้อย

วิธีทำ : นำเนื้ออุณหภูมิห้องไปนาบหรือเซีย บนกระทะที่ตั้งไฟร้อน ข้างละประมาณ 4 นาที
อุณหภูมิ : ภายในชิ้นเนื้อควรวัดได้ประมาณ 48 °C

3. Medium Rare



มาถึงระดับความสุกของเนื้อที่คนไทยนิยมทานกันมากที่สุด นั่นก็คือ Medium Rare เพราะผิวด้านนอกจะเป็นสีน้ำตาล ไล่ระดับเข้าสู่ด้านในซึ่งเป็นสีชมพู และแดงตามลำดับ ความสุกของเนื้ออยู่ที่ 50% ตัวเนื้อจะมีความนุ่ม ชุ่มฉ่ำแบบกำลังพอดีลงตัว และตัวสีของเนื้อก็ค่อนข้างสวย

วิธีทำ : นำเนื้ออุณหภูมิห้องไปนาบหรือเซียบนกระทะที่ตั้งไฟร้อนจัดเพียงข้างละ 2-3 นาที
อุณหภูมิ : ภายในชิ้นเนื้อควรวัดได้ประมาณ 54-55 °C

4. Medium



เนื้อในระดับนี้ก็คงยังเป็นที่นิยมทานในคนไทยเช่นกัน เนื่องจากตัวเนื้อจะมีความสุกขึ้นมาอีกหน่อย โดยมีส่วนที่เป็นสีแดงเพียง 25% โดยเนื้อด้านในออกอมชมพูไล่มาจนถึงด้านนอกที่มีสีน้ำตาลเข้ม เนื้อด้านนอกเริ่มมีความเหนียวมากขึ้นแต่ภายในยังคงความฉ่ำอยู่

วิธีทำ : นำเนื้ออุณหภูมิห้องไปนาบหรือเซีย ที่ตั้งไฟร้อนข้างละประมาณ 6-7 นาที
อุณหภูมิ : ภายในชิ้นเนื้อควรวัดได้ประมาณ 58-60 °C

5. Medium Well



เนื้อสเต็กที่มีระดับความสุกเกือบทั้งชิ้นหรือ 100% เลยทีเดียว โดยตัวเนื้อมีสีน้ำตาลเกือบทั่วทั้งชิ้น ตรงกลางมีสีชมพูอยู่บางๆ เท่านั้น และเนื้อตรงกลางยังคงความนุ่มและฉ่ำอยู่บ้าง

วิธีทำ : นำเนื้ออุณหภูมิห้องไปนาบหรือเซีย ที่ตั้งไฟร้อนข้างละประมาณ 7-8 นาที
อุณหภูมิ : ภายในชิ้นเนื้อควรวัดได้ประมาณ 65 °C

6. Well Done


มาถึงระดับความสุกสุดท้าย ซึ่งเนื้อแบบนี้จะมีความสุกในระดับ 100% โดยเนื้อจะเป็นสีน้ำตาลทั้งชิ้นทั้งด้านในและด้านนอก ซึ่งมีความฉ่ำน้อยลงมาก เนื้อสเต็กแบบนี้เชฟส่วนใหญ่ไม่แนะนำและนิยมให้ลูกค้าทานสักเท่าไหร่ เพราะสเน่ห์ของเนื้ออย่างความชุ่มฉ่ำจะหายไปค่อนข้างเยอะ จะมีความกระด้างจากการสุกของเนื้อแบบ 100%

วิธีทำ : นำเนื้ออุณหภูมิห้อง ไปนาบบนกระทะที่ตั้งไฟร้อนข้างละประมาณ 9-10 นาที 
อุณหภูมิ : ภายในชิ้นเนื้อควรวัดได้ประมาณ 65 °C ขึ้นไป

บทสรุป
จะเห็นได้ว่าการวัดระดับทั้งความนุ่มและอุณหภูมิของเนื้อจะสามารถประมาณระดับของเนื้อได้ สำหรับใครที่ชอบรับประทานเนื้อแบบไหน ความสุกระดับใด ก็ลองทำตามความชอบได้เลย หากได้ลองทำสักหน่อยแปบเดียวก็จะสามารถควบคุมระดับความสุกให้ตรงกับความต้องการของทั้งเราและลูกค้าเราได้แน่นอนจ้า

หากลูกค้าหรือผู้ประกอบการท่านใดมีความสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อเนื้อวัวเกรดคุณภาพที่ทางเราได้คัดสรรมา สามารถติดต่อทางเราได้เลยนะครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้